ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าหนังสือแจ้งความจำนงขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงิน ที่รัฐบาลมีไปถึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 224 วรรคสอง หรือไม่
..2..
collection name : คำวินิจฉัย
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 และประกอบกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน)บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 หรือไม่
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลแพ่งส่งคำโต้แย้งของจำเลย (บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน)) ซึ่งโต้แย้งว่าพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541และประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 22 ธันวาคม 2541 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29
ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 (กรณีอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)
ศาลปกครองสูงสุดส่งคำโต้แย้งของผู้ฟ้องคดี (นายสุนทร สินสา) เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ว่าพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 47 ตรี วรรคหนึ่ง (7)ประกอบมาตรา 47 ทวิ (2) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 มาตรา 27 และมาตรา 39 วรรคสาม หรือไม่
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 มาตรา 67 ตรี และ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2541 มาตรา 67 ฉและพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 มาตรา 38 ตรี และมาตรา 38 สัตต ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 35 วรรคสอง มาตรา 48 และมาตรา 50 วรรคสอง หรือไม่
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 และ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2541 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 วรรคสอง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง หรือไม่
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในส่วนที่เป็นบทบัญญัติเรื่องเกี่ยวกับอำนาจจัดการทรัพย์สิน หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง หรือไม่
นายเกรียงศักดิ์ แซ่เล่า ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสงขลา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าประกาศของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กำหนดอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทสไทย เรื่องกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฯลฯ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่คดีได้ตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264